|
|
ที่มาของชื่อหมู่บ้านหนองกระดิ่งนั้น เป็นเรื่องเล่าต่อกันมาจับความได้ลางๆ ว่า สมัยก่อนเมื่อมีการค้าขายระหว่างกัน ก็มีคนต่างถิ่นต้อนวัวต้อนควายมาขาย ระหว่างทางก็หยุดพักที่หนองน้ำเพื่อให้วัวควายกินน้ำกินท่า เมื่อวัวควายได้ลงกินน้ำในหนองซึ่งมีไม้หลักปักไว้ ก็มักเข้าไปเอาสีข้างลำตัวถูหรือสีไปสีมา ก็เป็นเหตุให้ไปถูกลูกกระดิ่งที่แขวนคอหลุด |
|
 |
|
|
และจมในหนอง ต่อมามีคนมาพบก็เลยทักให้เป็นชื่อบ้านหนองกระดิ่ง ส่วนหมู่ที่ 2 บ้านลำคลองยาง เดิมชื่อบ้านตีนดง เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณชายป่า ก็ว่าที่ริมคลองมีต้นยางขึ้นเรียงรายเป็นแถว เลยให้ชื่อบ้านลำคลองยางแทนเพราะเห็นว่าเป็นคำสุภาพกว่าตีนดง แต่ระยะแรกคงให้มี (ตีนดง) ต่อท้าย เป็นบ้านลำคลองยาง (ตีนดง) และต่อๆ มา ก็เหลือเพียงบ้านลำคลองยางจนทุกวันนี้ หมู่ 3 บ้านหัวยวด บ้างก็เล่าว่ามีคู่บ่าวสาวขี่ม้าหนีมาทางบ้านอานม้า แล้วอานม้าหล่นก็เรียกว่าบ้านอานม้า จนถึงบ้านหัวยวดก็มีชายชื่อยวดโผล่หัวมาร้องถามว่าไปไหนมา เลยให้ชื่อบ้านว่าบ้านหัวยวด ที่หมู่ 4 เดิมชื่อบ้านหนองไอ้โล่ ต่อมาเรียกว่าบ้านเนินพยอมก็ว่ามีต้นพยอมเป็นจำนวนมาก จนหลังๆ มานี้บ้างก็เรียกว่าบ้านปากดง เพราะก่อนจะเข้าไร่นาชาวบ้านจะต้องเดินผ่านป่าก่อน กอปรกับบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าเลยเรียกชื่อบ้านปากดงด้วย แต่ชื่อที่เป็นทางการคือบ้านเนินพยอม ส่วนหมู่ 5 บ้านแม่น้ำบนนั้นแต่เดิมชาวบ้านมีการค้าขายและสัญจรกันทางน้ำมาก เมื่อล่องมาทางคลองสามพวงถึงตำบลโตนดก็เรียกชุมชนนั้นว่าคันแม่น้ำบน เพราะเป็นจุดแรกก่อนถึงโตนด ต่อมาเมื่อแยกโตนดเป็นตำบลหนองกระดิ่ง ก็ยังคงเรียกบ้านคันแม่น้ำบนกันต่อมาทุกวันนี้ ส่วนหมู่ที่ 6 บ้านทุ่งกระโพ่ มีความเป็นมาคือ แต่เดิมบริเวณดังกล่าวเป็นทุ่งและมีต้นมะม่วงอยู่พันธุ์หนึ่ง คือพันธุ์กระโพ่ ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในทุ่งนั้น ชาวบ้านก็เรียกติดปากว่าทุ่งกระโพ่ จนเมื่อมีบ้านเรือนผู้คนอยู่เป็นจำนวนมากและปรับปรุงเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ 6 เลยให้ชื่อบ้านทุ่งกระโพ่ มาทุกวันนี้ และหลังๆ มามะม่วงพันธุ์กระโพ่ก็ไม่มีใครพบอีกเลย อย่างไรก็ตามการเรียกชื่อสถานที่ หรือชื่อหมู่บ้านก็เป็นเพียงเรื่องเล่าสู่กันฟัง จากคนเก่าคนแก่ที่อยู่มานานถ่ายทอดสู่บรรพชนรุ่นหลังๆ ย่อมมีความผิดเพี้ยนเป็นเรื่องธรรมดา อาจถือเอาเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ คงต้องหาหลักฐานที่น่าเชื่อถืออื่นๆ เช่น บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจดหมายเหตุ เป็นต้น |
|
|
|
ตำบลหนองกระดิ่ง เดิมเป็นเพียงหมู่บ้านหนึ่งในตำบลโตนด จนกระทั่งปี พ.ศ.2526 ตำบลโตนดซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และชุมชนขยายตัวมากขึ้น ทำให้การดูแลปกครองของผู้นำตำบลไม่ทั่วถึง กอปรกับบ้านหนองกระดิ่งก็เป็นชุมชนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการผลิตและซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนด้วยกันมาก อีกทั้งประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น |
|
 |
|
|
ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อราชการ และดำเนินธุรกิจ จึงได้มีการปรับปรุงตำบลโตนดออกเป็นตำบลหนองกระดิ่งอีกหนึ่งตำบล และเมื่อมีกฎหมายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ คือพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 จึงได้เริ่มจัดตั้งและให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2538 และต่อมาในปี พ.ศ.2539 และปี พ.ศ.2540 ตามลำดับ สำหรับตำบลหนองกระดิ่งนั้นได้ยกฐานะให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่นี้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 เป็นต้นมา |
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระดิ่ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอคีรีมาศ ไปตามทางหลวงชนบท สายโตนด - ทุ่งยางเมือง เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31.47 ตร.กม. หรือประมาณ 19,668.75 ไร่ |
|
 |
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.โตนด |
อ.คีรีมาศ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.สามพวง และ ต.ทุ่งยางเมือง |
อ.คีรีมาศ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.ท่าฉนวน |
อ.กงไกรลาศ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.โตนด และ ต.สามพวง |
อ.คีรีมาศ |
|
|
|
     |
|
|
|
|
  |
|
|
|
|
|
|
  |
|
|
|
|
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ความลาดชัน 1 - 5 เปอร์เซ็นต์ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 45 - 55 เมตร โดยมีทิศทางลาดเทของพื้นที่ไปด้านทิศตะวันออกและตะวันตก มีลำน้ำที่สำคัญไหลผ่านพื้นที่ ได้แก่ |
|
 |
|
|

 |
คลองสามพวง |
ความยาวประมาณ |
3.2 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองท่าช้าง |
ความยาวประมาณ |
2.5 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองหร่ายหนองถ่าน |
ความยาวประมาณ |
2.6 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองมาบพญา-วังน้ำ |
ความยาวประมาณ |
3 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองยาง |
ความยาวประมาณ |
6.3 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองธรรมโรง - โปร่งพรม |
ความยาวประมาณ |
2.5 |
กิโลเมตร |
|

 |
คลองตาเกตุ |
ความยาวประมาณ |
4.5 |
กิโลเมตร |
|
|
|
จากข้อมูลสถิติภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศจังหวัดสุโขทัย ได้นำมาใช้เป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่ตำบลหนองกระดิ่ง สรุปได้ดังนี้ |

 |
ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปี 1,348.5 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนมีฝนตกมากที่สุดในรอบปี ปริมาณเฉลี่ย 285.2 มิลลิเมตร และฝนตกน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3.7 มิลลิเมตร รวมจำนวนวันที่มีฝนตกตลอดทั้งปี 109 วัน |
|
|
 |
|
|

 |
อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 33.3 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 22.3 องศาเซลเซียส โดยเดือนเมษายนมีค่าอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37.7 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมเฉลี่ย 17.8 องศาเซลเซียส |
|

 |
ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยรายปีเท่ากับ 75.4 เปอร์เซ็นต์ โดยเดือนกันยายน มีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 83 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือนเมษายนเฉลี่ย 66 เปอร์เซ็นต์ |
|
|
|
การเกษตร |
ประชากรตำบลหนองกระดิ่ง ส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนี้ |

 |
การทำนา |

 |
ทำไร่ เช่น ข้าวโพด กล้วย อ้อย |
การปศุสัตว์ |
เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา |
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 3,487 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 1,681 คน |
คิดเป็นร้อยละ 48.21 |

 |
หญิง จำนวน 1,806 คน |
คิดเป็นร้อยละ 51.79 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 971 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 110.80 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
 |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านหนองกระดิ่ง |
509 |
558 |
1,067 |
300 |
|
 |
2 |
|
บ้านลำคลองยาง |
322 |
375 |
697 |
200 |
 |
|
3 |
|
บ้านหัวยวด |
219 |
226 |
445 |
126 |
|
 |
4 |
|
บ้านเนินพยอม |
495 |
490 |
985 |
257 |
 |
|
5 |
|
บ้านคันแม่น้ำบน |
68 |
71 |
139 |
37 |
|
 |
6 |
|
บ้านทุ่งกระโพ่ |
68 |
86 |
154 |
51 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
1,681 |
1,806 |
3,487 |
971 |
 |
|
|
ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2559 |
|
|
|
|
  |
|
|
|
|
|
|
  |
|
|
|